• Facebook Fanpage
  • Messenger
  • Line Official
  • Youtube Channel

เลือกภาษา

Thai Thai

ค้นหาข้อมูล

สื่อโซเซียลหน่วยงาน

เมนูหลัก

การป้องกันการทุจริต

สถิติผู้เยี่ยมชม

678039
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
140
835
1486
671963
18868
25301
678039

Your IP: 3.135.218.87
2024-10-30 13:47

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์

1.ด้านกายภาพ

  1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์  เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน  21  ตำบลของ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวอำเภอดังต่อไปนี้

  หมู่ที่  1  บ้านปากดง ระยะห่างจากอำเภอเมือง  12  กิโลเมตร

  หมู่ที่  2  บ้านหนองขุ่น ระยะห่างจากอำเภอเมือง  10  กิโลเมตร

  หมู่ที่  3  บ้านนาแอง ระยะห่างจากอำเภอเมือง  13  กิโลเมตร

  หมู่ที่  4  บ้านนิคม 1 ระยะห่างจากอำเภอเมือง  15  กิโลเมตร

  หมู่ที่  5  บ้านโนนบุญมี ระยะห่างจากอำเภอเมือง  14  กิโลเมตร

  หมู่ที่  6  บ้านหนองหลัก ระยะห่างจากอำเภอเมือง  13  กิโลเมตร

  หมู่ที่  7  บ้านโนนสง่า ระยะห่างจากอำเภอเมือง  17  กิโลเมตร

  หมู่ที่  8  บ้านนิคมพัฒนา ระยะห่างจากอำเภอเมือง  19  กิโลเมตร

  หมู่ที่  9  บ้านส่งเสริมธรรม ระยะห่างจากอำเภอเมือง  12  กิโลเมตร

  หมู่ที่  11  บ้านศรีชมชื่น ระยะห่างจากอำเภอเมือง  13  กิโลเมตร

  หมู่ที่  12  บ้านใหม่ศรีวิไล ระยะห่างจากอำเภอเมือง  12  กิโลเมตร

 องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  มีเนื้อที่จำนวน  26,828 ไร่ หรือประมาณ  43  ตารางกิโลเมตร  ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  - ทิศเหนือ จดตำบลเชียงพิณ  อำเภอเมือง

  - ทิศใต้ จดตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง

  - ทิศตะวันออก จดตำบลนาดี อำเภอเมือง

  - ทิศตะวันตก จดตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง

  1.2 ภูมิประเทศองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์

 องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์ มีพื้นที่ทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่มและมีส่วนเป็นพื้นที่ราบผสมกับพื้นที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและ สภาพป่าเป็นป่าโปร่งแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยหนอง คลอง บึง มีอยู่ทั่วไปแต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้นาน บางแห่งตื้นเขิน ทำให้ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

  1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของตำบลนิคมสงเคราะห์ จังหวัดอุดรธานี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจ้าฤดูกาล ซึ่ง 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่ ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ทำให้จังหวัด อุดรธานีมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทร เข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม) ท้าให้มีฝนตกชุก ทั่วไป ฤดูกาล ฤดูกาลของจังหวัดอุดรธานี พิจารณาตามลักษณะของลมฟ้าอากาศของประเทศไทยสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วง ที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง โดยมีอากาศหนาวจัด ในบางวันและเดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงปกคลุมประเทศไทยในช่วงดังกล่าวด้วย       ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงว่าง ของฤดูมรสุม โดยมีลมทิศใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้มีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะ ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปี ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับในช่วงดังกล่าวร่อง ความกดอากาศต่ำที่พาดอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้าให้อากาศเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัย ดังกล่าวที่ให้มีฝนตกชุกแล้วยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทย ในช่วงดังกล่าวด้วย อุณหภูมิ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดอุดรธานีส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและมีเทือกเขาติดต่อกันเป็น แนวยาว ท้าให้อากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในช่วงฤดูร้อน และในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นมาก โดย อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 26.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.4 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี

 1.4 ลักษณะของดิน

 ลักษณะดินในเขตพื้นที่ตำบลนิคมสงเคราะห์เป็นดินร่วนปนทราย หรือ กรวดลูกรัง ความสมบูรณ์ของดินน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ทำนา  ทำสวน  ทำไร่ และเป็นที่อยู่อาศัย

 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

 แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค/บริโภคและการเกษตร

  • แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำใต้ดิน และน้ำผิวดิน
  • แหล่งน้ำเพื่อการบริโภค ส่วนใหญ่บริโภคน้ำฝนและน้ำบรรจุขวด
  • แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยหนอง คลองบึง มีอยู่ทั่วไปแต่ไม่สามารถ

 กักเก็บน้ำได้นาน บางแห่งตื้นเขิน ทำให้ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

 1.6 ลักษณะของไม้/ป่าไม้

 สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ปะปนกันไม่ค่อยหนาแน่น ตามพื้นล่างมักจะมีโจดและหญ้าเพ็กซึ่งเป็นไม้ไผ่ขนาดเล็กขึ้นอยู่ทั่วไป พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือ กรวดลูกรัง ความสมบูรณ์ของดินน้อย ต้นไม้แทบทั้งหมดสลัดใบ นอกจากนี้ยังมีไม้ไผ่ที่สำคัญอีกหลายชนิด เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่รวก ไผ่ไร่ เป็นต้น

 1.7 ท้องที่อื่นในเขตใกล้เคียงองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์

  - จำนวนเทศบาล 1 แห่ง เทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์

  - จำนวนสุขาภิบาล  -  แห่ง (ระบุชื่อ)

2.  ด้านการเมืองการปกครอง

          2.1  เขตการปกครอง

          ตำบลนิคมสงเคราะห์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  12  หมู่บ้าน  คือหมู่ที่ 1-12  ซึ่งหมู่ที่  10 และหมู่ที่  7  บางส่วนอยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์  หมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์  ประกอบด้วย

      หมู่ที่ 1 บ้านปากดง           ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายตระกูล           อัญโญ

     หมู่ที่ 2 บ้านหนองขุ่น          ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายก้านแก้ว         ท้าวมะลิ

     หมู่ที่ 3 บ้านนาแอง            ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสมควร           คามะเชียงพิณ

     หมู่ที่ 4 บ้านนิคม 1            ผู้ใหญ่บ้านชื่อ ธนกฤต               วิทยารัตน์

     หมู่ที่ 5 บ้านโนนบุญมี         กำนัน ชื่อ นายดาวเทียม             อ่อนคำ

     หมู่ที่ 6 บ้านหนองหลัก        ผู้ใหญ่บ้านชื่อ อุดม                  โพธิ์คำทึง

     หมู่ที่ 7 บ้านโนนสง่า           ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเดช              บุญศิลป์

     หมู่ที่ 8 บ้านนิคมพัฒนา       ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญแสง          บุตรชาดี

     หมู่ที่ 9 บ้านส่งเสริมธรรม      ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอาทิตย์          ชัยมี

     หมู่ที่ 11 บ้านศรีชมชื่น        ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญเลิศ          ปากดีหวาน

     หมู่ที่ 12 บ้านใหม่ศรีวิไล      ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเจษฎาภัทร์      ศรีพรหม

2.2  การเลือกตั้ง

          องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์ได้มีการเลือกตั้ง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 

3.  ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

          ประชากรในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล  มีจำนวน  ทั้งสิ้น 8,513  คน

          จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  3,284  ครัวเรือน

หมู่ที่

บ้าน

ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

(ชาย+หญิง)

1.

2

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

11.

12.

ปากดง

หนองขุ่น

นาแอง

นิคม 1

โนนบุญมี

หนองหลัก

โนนสง่า

นิคมพัฒนา

ส่งเสริมธรรม

ศรีชมชื่น

ใหม่ศรีวิไล

340

493

338

359

244

212

150

258

203

403

284

425

324

520

278

359

326

307

275

205

698

499

444

339

502

308

349

323

309

298

197

753

475

869

663

1,022

586

708

649

616

573

402

1,451

974

 

รวม

3,284

4,216

4,297

8,513

            4.  สภาพทางสังคม

4.1 ด้านการศึกษา

   - สถานศึกษาในเขตตำบลนิคมสงเคราะห์

ที่

สถานศึกษา

 

แห่ง

ครู

นักเรียน

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

โรงเรียนระดับอนุบาล

โรงเรียนระดับประถมศึกษา

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

ห้องสมุดประชาชน

ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

2

-

14

-

168

-

  4.2 การสาธารณสุข

  - โรงพยาบาลของรัฐ – เตียง - แห่ง

  - โรงพยาบาลประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง

  - สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง

  - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง

  - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100

  4.3 อาชญากรรม

  - อาชญากรรมทางทรัพย์สิน วิ่งราวทรัพย์สิน ชิงทรัพย์ ลักขโมย จำนวน 10 คดี(2559)

  - อาชญากรรมทางร่างกาย ฆาตกรรม จำนวน 1 คดี(2559)

  4.4 ยาเสพติด

  - ผู้ค้ายาบ้า รายย่อยในพื้นที่  จำนวน  8  ราย

  - ผู้เสพยาบ้า ส่งสถานบำบัด  จำนวน 20  ราย

  4.5 การสังคมสงเคราะห์

5. ระบบบริการพื้นฐาน

  5.1 การคมนาคมขนส่ง

 องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์  ตั้งอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  210  ทั้งสองฝั่งทาง มีถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน เป็นถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกหมู่บ้าน  การสัญจรไปมามีความสะดวกรวดเร็วส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถมอเตอร์ไซค์

  5.2 การไฟฟ้า

 ตำบลนิคมสงเคราะห์ได้รับการบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอเมืองอุดรธานี มีไฟฟ้าอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่ทั่วถึงซึ่งกำลังพัฒนาและขยายเขตให้ทั่วถึง  

  5.3 การประปา

 การประปาในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์ ได้รับบริการจากประปาส่วนภูมิภาคบางหมู่บ้านและระบบประปาจากองค์การบริหารส่วนตำบลนิคม ซึ่งมีทั้งระบบประปาผิวดินได้แก่ระบบประปาจากหนองแองและหนองขุ่นและระบบประปาใต้ดิน

  5.4 โทรศัพท์

 ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์  รับบริการจากองค์การโทรศัพท์  และโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป  ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่  คิดเป็นร้อยละ  98

  5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุครุภัณฑ์

  - ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์  รับบริการไปรษณีย์จากไปรษณีย์อุดรธานี

  - ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์หรือวิทยุใช้ ร้อยละ 99.28

  - ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.4

  - หอกระจายข่าว/เสียงตามสายจำนวน 11 แห่ง

6.ระบบเศรษฐกิจ

  6.1 การเกษตร

 ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลนิคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา รองลงมาคือทำสวนและทำไร่ประมาณ 70 %  ปะกอบอาชีพทำนา อีก 30% ทำสวน ,ทำไร่ 

  6.2 การปศุสัตว์

 การปศุสัตว์ในเขตพื้นที่ตำบลนิคมสงเคราะห์  การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 80  เลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือนเหลือจากบริโภคจึงจำหน่ายในท้องถิ่น  การเลี้ยงเพื่อขายจะมีบ้างเช่นเลี้ยงโค  กระบือ  สุกร  ไก่  ปลา และกบ

  6.3 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ

 ผลิตภัณฑ์และกลุ่มอาชีพ  จำนวน 12 กลุ่มได้แก่

ที่

ชื่อกลุ่มอาชีพ

หมู่ที่

จำนวนสมาชิก

ผลิตภัณฑ์

ชื่อประธาน/ที่อยู่

1

กลุ่มแม่บ้านปากดง

1

10

ขนมไทย

นางอนงค์ลักษณ์  เครือกลางรงค์

2

กลุ่มโรงสีข้าวชุมชน

1

12

ข้าว

นายประยูร  เครือกลารงค์

3

กลุ่มปุ๋ยอัดเม็ด

1

6

ปุ๋ย

นายสมัย   อัญโย

4

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง

2

17

-ผ้ามัดหมี่

-ผ้าขาวม้า

นางอำคา  ทองดี

081-3200898

5

กลุ่มอนุรักษ์สมุนไพร

บ้านนาแอง

3

14

-ยาดม

-สมุนไพรเขียวนาแอง

นายพินิจ  ไกรคุ้ม

Tel.081-7392889

6

กลุ่มสมุนไพรแม่วานิช

4

6

-เกลือขัดผิวกาย

-ผงขัดหน้า

-สครับขัดผิว

-ลูกประคบ

นางวานิช  สีลาสิทธิ์

Tel.082-1226509

7

กลุ่มเข็มเพชรผ้าไทย

4

16

-เนคไทด์

-ปลอกหมอนอิง

-กล่องกระดาษทิชชู

นางเข็มเพชร  อินทร

8

กลุ่มทอผ้าบ้านาแอง

3

15

ผ้าถุงมัดหมี่,ผ้าขาวม้า

นางกองมี  พรมมาสิม

9

กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปกล้วย บ้านโนนสง่า

7

30

-กล้วยตาก

-กล้วยอบเนย

นางวรางคณา  นามพิลา

10

กลุ่มวิสาหกิจตัดเย็บกระเป๋าบ้านโนนสง่า

7

12

-กระเป๋าแฟชั่น

-กระเป๋าผ้าไทย

นายสุวัฒน์  ทองคำ

11

กลุ่มขนมทองม้วนส่งเสริมธรรม

9

8

-ทองม้วนรสฟักทอง,รสสาหร่าย

-หน่อไม้สด,ผักต่างๆ

นางสาย  ศรีปัตติวงค์

12

กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงผึ้งนิคมสงเคราะห์

10

9

น้ำผึ้ง,เกสรผึ้ง.ไขผึ้ง

นายคงฤทธิ์ 

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

  7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

เขตพื้นที่ตำบลนิคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งทำนาปีละ 1 ครั้ง อาศัยน้ำเพื่อการเกษตรตามฤดูกาล นอกจานั้นยังมีอาชีพทำสวนผักหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นบางส่วน

  7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

ประเภทของการทำการเกษตร

จำนวน

ผลผลิตเฉลี่ย(กก/ไร่)

ต้นทุนการผลิต  (บาท/ไร่)

ราคาขายโดยเฉลี่ย(บาท/ไร่)

ทำนา

ในเขตชลประทาน

56  ครัวเรือน

450

2,500

6,750

392  ไร่

     

นอกเขตชลประทาน1ครั้ง/ปี

494 ครัวเรือน

450

2,500

6,750

7,182 ไร่

     

ทำสวน

ไผ่

2  ครัวเรือน

100

2,500

12,000

11  ไร่

     

พืชผัก

72  ครัวเรือน

200

1,000

2,000

114  ไร่

     

ยาง

8  ครัวเรือน

35

2,700

4,900

243  ไร่

     

มะม่วง

1  ครัวเรือน

20

200

1,000

4  ไร่

     

ทำไร่

ไร่อ้อย

53  ครัวเรือน

18,000

7,000

16,200

592  ไร่

     

ไร่มันสำปะหลัง

76  ครัวเรือน

4,000

2,300

8,000

659  ไร่

     

  7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

 แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลนิคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำตามฤดูกาล  นอกเหนือจากฤดูฝนบางพื้นที่จะมีน้ำจาก ฝาย   ลำคลอง  ห้วย  ซึ่งเก็บน้ำไม่ได้ตลอดทั้งปี  คลองชลประทานจะผ่านเฉพาะบ้านศรีชมชื่นและบ้านนาแอง  จึงทำให้ขาดน้ำเพื่อการเกษตร

  7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน  น้ำใช้(หรือน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค)

  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค/บริโภคและการเกษตร

  • แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำใต้ดิน
  • แหล่งน้ำเพื่อการบริโภค ส่วนใหญ่บริโภคน้ำฝนและน้ำบรรจุขวด
  • แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 8 แห่ง ได้แก่ 1. หนองขุ่น หนองแอง 3. และลำห้วยต่างๆ

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

  8.1 การนับถือศาสนา

 ประชาชนตำบลนิคมสงเคราะห์ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆได้แก่คริสต์  อิสลาม

  8.2 ประเพณีและงานประจำปี

 ประชาชนตำบลนิคมสงเคราะห์ มีขนบธรรมเนียมประเพณีเช่น เดียวกับหมู่บ้านอื่นๆในพื้นที่ภาคอีสาน เช่น ประเพณีสู่ขวัญบายศรี เป็นประเพณีมาแต่โบราณ คือ เมื่อมีผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยือนหรือจากไปจะต้องมีการสู่ขวัญบายศรีให้ฝ้ายผูกข้อมือ และของฝากอื่น ๆ ถือว่าเป็นศิริมงคลเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนั้นแล้วยังมีประเพณี ทำบุญต่าง ๆ เช่น  “ฮิตสิบสองคลองสิบสี่” ประเพณีของอีสาน มีดังนี้

 ฮิตที่ 1 บุญเข้ากรรม คือ บุญที่ทำขึ้นในเดือนอ้าย พิธีบุญนี้จะเกี่ยวกับพระสงฆ์โดยตรง

 ฮิตที่ 2 บุญคูณลาน (บุญเดือนยี่) เป็นบุญที่ทำขึ้นเกี่ยวกับการแสดงออกถึงความเคารพบูชาข้าว

 ฮิตที่ 3 บุญข้าวจี่ (บุญเดือนสาม)  คือ การทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์เพื่อจะได้อานิสงส์

 ฮิตที่ 4 บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (บุญเดือนสี่)  คือ บุญทำขึ้นเกี่ยวกับเรื่องราวพระเวสสันดร

 ฮิตที่ 5  บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) ทำขึ้นในวันที่ 13-14-15 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทย

 ฮิตที่ 6 บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) ทำขึ้นเพื่อบูชาพญาแถนขอดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

 ฮิตที่ 7 บุญซำฮะ (บุญเดือนเจ็ด) ทำขึ้นเพื่อบุญเบิกบ้านหว่านกรวดทรายหินให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

 ฮิตที่ 8 บุญเข้าพรรษา (ทำในวันเพ็ญเดือนแปด) มีวัตถุประสงค์ให้พระอยู่ประจำวัดและศึกษาธรรม

 ฮิตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน (ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า) เป็นบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ตายไป

 ฮิตที่ 10 บุญข้าวสาก (ทำในวันเพ็ญเดือนสิบ) เป็นบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายหรือเปรต ผี  ต่าง ๆ

 ฮิตที่ 11 บุญออกพรรษา (ทำในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด)พระพุทธเจ้ามีพุทธานุญาตให้ภิกษุออกจาริดได้

 ฮิตที่ 12 บุญกฐิน(ทำในช่วงระหว่าง แรม  1 ค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นบุญที่              ชาวพุทธนำผ้าสบงจีวร หรือเครื่องนุ่งห่มไปถวายพระเพื่ออานิสงส์

  8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น

 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ งานจักสานเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตต่างๆ เช่น หวด กระติบใส่ข้าว ตะกร้า ลอบ ไซ ยางใส่ปลา ข้อง การทอผ้าใช้เองและการทอเสื่อกก

  8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าทอมือ ผ้ามัดหมี

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

  9.1 น้ำ

 แหล่งน้ำธรรมชาติได้แก่

  • - หนองขุ่น บ้านหนองหลัก
  • - หนองแอง บ้านนาแอง
  • - หนองปู่ตา บ้านหนองขุ่น
  • - สระน้ำ ลำห้วย 

background nikhomsongkror

   ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสงเคราะห์

หมู่ที่ 2 ตำบลนิคมสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

Email : Nikhomsongkror@gmail.com  โทรศัพท์ : 042-111620 ต่อ 101-108  โทรสาร : 042-111630

เว็บไซต์หน่วยงาน : www.nikhomsongkrorlocal.go.th
   Copyright © 2021. www.nikhomsongkrorlocal.go.th All Rights Reserved.

ออกแบบและพัฒนาโดย...www.jewelryitem.com รับทำเว็บไซต์หน่วยงานท้องถิ่น (เทศบาล,อบต.)  
Email : jewelryitem7749@gamil.com 
โทร.080-0071702 Line ID : jewelryitem